เริ่มต้นปี 2020 โลกเรามีภัยต่อแถวกันมาไม่ขาดสาย ตั้งแต่ไฟป่าขนาดใหญ่ที่ออสเตรเลีย ภูเขาไปตาอัลที่ฟิลิปปินส์ปะทุ น้ำท่วมบราซิล ฝั่งประเทศไทยมีน้ำประปาเค็ม ฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้นซ้ำจากปีก่อน และเกิดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ระบาดที่อู๋ฮั่น ประเทศจีน จนขยับไปเป็นโรคระบาดที่มีชื่อว่า โรคโควิด-19 (Pandemic: COVID-19) ส่งผลกระทบไปทั่วโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทั้งส่งผลถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะในการเดินทาง การปฏิสัมพันธ์กับผู้คน การบริโภค ที่เราทุกคนต้องร่วมมือกันในการช่วยลดความเสี่ยงและอัตราผู้ติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งการทำงาน ที่ทุกองค์กรต้องมีวิธีจัดการบริหารที่คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ยังคงก้าวต่อไปข้างหน้า
เพื่อพัฒนาการปรับตัวและรับมือแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในการทำงานของบุคคลและมิติการบริหารขององค์กรที่ต่างเป็นตัวแปรสำคัญในเศรษฐกิจที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของเราทุกคนในสังคม ศูนย์วิจัยของเราจึงตั้งคำถามและจัดทำงานวิจัย เพื่อเป็นส่วนช่วยพัฒนารูปแบบการทำงานในชีวิตประจำวันของเราทุกคนให้ดีขึ้น ในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการทำงานภายใต้ภาวะโรคระบาด (โควิด-19) ในสังคมไทย” ซึ่งหากใครสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาหัวข้อนี้ไปด้วยกันก็สามารถให้ข้อมูลตามแบบสอบถามได้ตามลิงก์ด้านล่าง และรับผลการวิจัยนี้ได้ฟรี ในเดือนมิถุนายน (แบบสอบถามจะเปิดรับถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2020 เท่านั้น โดยที่ใช้เวลาในการทำแบบสอบถามไม่เกิน 15 นาที)
เราหวังว่า งานวิจัยของเราจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการทำงานในอนาคต และพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นผ่านการออกแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม
ศูนย์วิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง
เพนฟิล
How we do?
— เกี่ยวกับการวิจัย ภายใต้หัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการทำงานภายใต้ภาวะโรคระบาด (โควิด-19) ในสังคมไทย” ทางศูนย์ฯดำเนินการสืบค้นงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและน่าเชื่อถือ (Literature Reviews) สร้าง Research Framework เพื่อเป็นโครงร่างแนวคิดในการศึกษาวิจัย พร้อมตั้งสมมติฐานงานวิจัย (Hypothesis Test) แต่เนื่องจากประเด็นการศึกษานี้เป็นเรื่องใหม่ บวกกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างไม่ทันตั้งตัว จึงยังไม่มีการเก็บข้อมูลเชิงลึก (Data Insight) ให้มาใช้งานได้ ทางทีมงานจึงเลือกรูปแบบการเก็บข้อมูลทางแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) เพื่อให้เข้ากับการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ถ้าผู้อ่านหรือคนทำงานท่านใดมีเรื่องราวอยากเล่า อยากส่งภาพการทำงานที่บ้านมาให้เรา หรือยินดีให้เราสัมภาษณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิจัยก็สามารถติดต่อเราได้เช่นกัน (งานวิจัยของเรารักษาความลับส่วนบุคคลของคุณ ไม่เปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผยชื่อ ใช้เพื่อวิจัยเท่านั้น)